วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559


หมอพื้นบ้าน รักษาโรคกระดูก

หมวด : อื่นๆ บริการชุมชน

ผลิตภัณฑ์

ประวัติความเป็นมา

นายเคลิ้ม เกิดกูล หรือ หมอเคลิ้ม เมื่ออายุ ๒๐ ปี ได้อุปสมบท ณ. วัดห้วยแก้ว ได้รับการ 

ถ่ายทอดความรู้วิชาต่อกระดูกจาก เจ้าอาวาสวัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่ออุปสมบทได้ 

๔ พรรษา หมอเคลิ้มได้ลาสิกขาบท สมรสกับนางตะลุ้ม เกิดกูล และเริ่มเป็นหมอรักษาผู้ป่วยกระดูก ตั้งแต่นั้น 

เป็นต้นมา ประสบความส าเร็จพอสมควร เนื่องจากผู้ที่มารักษาได้หายจากอาการเจ็บป่วย และได้บอกเล่าต่อ 

กันปากต่อปาก ท าให้หมอเคลิ้มมีชื่อเสียงในด้านการรักษากระดูก ในเขตต าบลมหาสอน อ าเภอบ้านหมี่ และ 

อ าเภอใกล้เคียง 



หมอเคลิ้มถ่ายทอดความรู้วิชาต่อกระดูกให้แก่บุตรเขย นายวิเชียร ล้นเหลือ หลังจากสมรสกับ 

นางตะล่อม ล้นเหลือ ได้หนึ่งปี นายวิเชียร ล้นเหลือ ได้เข้าพิธียกครู รับเป็นศิษย์ ประสาทวิชากับหมอเคลิ้ม 

ผู้เรียนวิชาต่อกระดูกนั้น ต้องเป็นผู้ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี รักษาผู้ป่วยโดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทน 

หากปฏิบัติไม่ดีหรือน าวิชาต่อกระดูกไปใช้ในทางที่ไม่ถูกไม่ควร ผู้เรียนจะไม่ประสบผลส าเร็จในการรักษา 

ตนเองหรือคนในครอบครัวจะได้รับอันตราย ดังนั้นหากได้รับการถ่ายทอดวิชาแล้ว ต้องตั้งใจรักษาและด ารงตน 

ตนอยู่ในศีลธรรมอันดี 

นายวิเชียร ล้นเหลือ เกิดที่จังหวัดอ่างทอง เมื่อสมรสกับนางตะล่อม ล้นเหลือ ได้ย้ายมาอาศัยอยู่ 

ที่บ้านหมอเคลิ้ม บ้านปากดง หมู่ที่ ๒ ต.มหาสอน อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี เรียนรู้การรักษากระดูกจากหมอเคลิ้ม 

จากการสอน การสังเกตวิธีการวินิจฉัยอาการและวิธีการรักษา การฝึกปฏิบัติด้วยความตั้งใจ เป็นเวลา ๑๕ ปี 

ก่อนหมอเคลิ้มจะเสียชีวิต หมอวิเชียร ได้เริ่มรักษาคนป่วยกระดูกหัก ตั้งแต่อายุประมาณ ๒๕ ปี จนถึงปัจจุบัน 

อายุ ๖๐ ปี เป็นเวลานานถึง ๓๕ ปี ปัจจุบันนี้ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการกระดูกหัก หากมีผู้ป่วยมาหา หมอ 

วิเชียรจะบอกให้รีบไปโรงพยาบาลก่อนแล้วจึงให้กลับมารักษาต่อ

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

2. พิธีส่งขวัญข้าว คือพิธีที่ผู้หายจากอาการเจ็บป่วยแล้วน ากล้วยน้ าว้าสุกสีเหลืองทองมามอบ ให้แก่หมอ เพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณครู หมอผู้รับจะน ากล้วยน้ าว้านี้ไปตักบาตร 
3. พิธียกครู รับเป็นศิษย์ ประสาทวิชา ผู้เรียนต้องเป็นผู้ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี รักษา ผู้ป่วยโดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทน หากปฏิบัติไม่ดีหรือน าวิชาต่อกระดูกไปใช้ในทางที่ไม่ถูกไม่ควร ผู้เรียน จะไม่ประสบผลส าเร็จในการรักษา ตนเองหรือคนในครอบครัวจะได้รับอันตราย ดังนั้นหากได้รับการ ถ่ายทอดวิชาแล้ว ต้องรักษาผู้ป่วยความตั้งใจประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี 
4. การท าพิธีไหว้ครู หมอพื้นบ้านยึดถือปฏิบัติเป็นประจ าทุกปี ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว อาหาร ๙ อย่าง ผลไม้ ๙ อย่าง

มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ

ประกาศเกียรติคุณ “ชมรมพลังสังคม อ าเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี” เป็นบุคลดีเด่นด้าน สาขา บริการสังคม

ความสัมพันธ์กับชุมชน

หมอกระดูกพื้นบ้านเป็นสมาชิกของชุมชน มีความส าพันธ์กับชุมชนในความสามารถทางด้านการใช้เทคนิควิทยาของภูมิปัญญาพื้นบ้านรักษาโรค หมอกระดูกพื้นบ้านเป็นผู้ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี เป็น ตัวอย่างที่ดีของเยาวชน รักษาผู้ป่วยโดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทน นอกจากการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน การรักษาโรค โดยพิธีกรรม และมีความเชื่อทางศาสนามา ความศรัทธา มุ่งเน้นการรักษาคนทั้งร่างกายและ จิตใจ ตลอดจนรวมไปถึงครอบครัวหรือเครือญาติและสังคมทั้งระบบ มากกว่าจะมุ่งเน้นการรักษาเฉพาะโรค หรือเฉพาะอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษา 
1. มีหมอ ๑ เล่ม ลงอักขระคาถา จากพระ 
2. ไม้สักลงอาคมก่อนใช้งานทุกครั้ง ความยาวประมาณ ๑ ศอก หรือ ๕๐ เซนติเมตร 
3. ไม้กระดาน ๑ แผ่น 
4. น้ ามันมนต์ 
5. เฝือกไม้ไผ่ 
6. อุปกรณ์ถ่วงกระดูก เช่น บรรจุหิน ,ทราย หรือน้ า มีดหมอและไม้สัก

ขั้นตอนการผลิต

1. ผู้ป่วยที่มารักษาต้องท าพิธียกครู จัดพาน ดอกไม้ ๕ ดอก ธูป ๕ ดอก เทียน ๕ เล่ม และ เงิน ๑ สลึง มอบให้หมอผู้รักษา 
2. เริ่มการรักษาโดยให้ผู้ป่วยนั่งบนแผ่นไม้กระดานแผ่นเดียวกับหมอ หมอวินิจฉัยอาการผู้ป่วย
3. หมอใช้มีดหมอสับลงไม้ พร้อมกับสวดคาถา และหมอเป่าคาถารักษาผู้ป่วย โดยคาถาที่สวด ขณะเป่านั้นจะไม่เหมือนกัน ตามอาการของผู้ป่วย 
4. ในรายละเอียดย่อยนั้นผู้ป่วยแต่ละรายจะมีวิธีการรักษาที่ต่างกัน เช่น ดามด้วยเผือกไม้ไผ่ อุปกรณ์ถ่วงกระดูก เช่น บรรจุหิน ,ทราย หรือน้ าหลังจากการรักษาแล้วหมอจะให้น้ ามันมนต์ กลับไปทาที่บ้าน

ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

นายวิเชียร ล้นเหลือ
ที่อยู่ 18 2 - ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 15110
 081-7031883

ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

นายวิเชียร ล้นเหลือ
ที่อยู่ 18 2 - ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 15110
 081-7031883

แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์

เลขที่ 18 บ้านปากดง หมู่ที่ 2 ต าบลมหาสอน อ าเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 15110

ที่มา:http://www.otoptoday.com/

ตำรับข้าวรักษาโรค ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านภาคอีสาน

ตำรับข้าวรักษาโรค
ตำรับข้าวรักษาโรค ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านภาคอีสาน 

          ข้าวเป็นยา บำบัดรักษาสารพัดอาการ ถือเป็นหนึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพ ซึ่งหมอยาพื้นบ้านสืบทอดกันมาช้านาน 

          อาหารหลักที่คนไทยทานกันทุกบ้านอย่าง ข้าว ได้รับการยอมรับจากนักโภชนาการว่ามีคุณประโยชน์ทางสารอาหารครบถ้วนในตัวเอง และก็เป็นหนึ่งในตำรับยาที่หมอยาพื้นบ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือนำมาใช้บำบัดรักษาอาการต่าง ๆ ลองมาดูข้อมูลเรื่องนี้จาก ไทยโพสต์

          ข้าวที่มีสารอาหารครบถ้วน ต้องเป็นข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ เพราะข้าวขัดขาวสารอาหารสำคัญจะถูกขัดสีออกไปเป็นรำข้าวเกือบหมดแล้ว และทางการแพทย์แผนจีนยังกล่าวว่า ข้าวมีทั้งหยิน-หยางอย่างสมดุลในตัวเอง ถือเป็นยารักษาโรคคุณภาพดี การแพทย์พื้นบ้านหรือการแพทย์ตะวันออกของทุกชาติที่มีการบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักจึงมักมีตำรับยาดีๆ ที่ใช้ข้าวในการรักษาโรคมากมายทั้งแบบใช้เดี่ยว ๆ หรือใช้แบบตำรับ 

          ผลผลิตจากการสีข้าวแบบขัดข้าวจะได้รำและจมูกข้าว ในสมัยก่อนมักขายเป็นหัวอาหารนำไปใช้เลี้ยงหมู เลี้ยงเป็ด ไก่ แต่เมื่อประชาชนตระหนักรู้ในความสำคัญของรำข้าวและจมูกข้าวแล้ว ก็มีการสีข้าวกล้องเพื่อลดการขัดสีจมูกข้าวลง สำหรับเป็นทางเลือกของประชาชนในการเลือกซื้อข้าวที่มีคุณค่าทางสารอาหารในการบริโภคมากขึ้น หรือแม้กระทั่งรำและจมูกข้าวก็นำมาบีบเอาน้ำมันที่เรียกว่าน้ำมันรำข้าว ซึ่งเป็นน้ำมันคุณภาพดี สามารถนำมาใช้บำรุงผิว ทำยา และอาหาร หรือบรรจุในแคปซูลเป็นอาหารเสริมบำรุงร่างกาย 

ตำรับข้าวรักษาโรค

          หมอยาพื้นบ้านภาคอีสานได้ทำการรวบรวมตำรับยาที่ใช้ข้าวปรุงเป็นยารักษาโรคต่าง ๆ อาทิ โรคผดผื่น มดมาน โรคผิวหนัง ภูมิแพ้ ปวดหัวไมเกรน ถอนพิษจากสัตว์หรือพืช เช่น พิษงู แมงมุม แมงป่อง ตะขาบ เจ็บหัว เจ็บตา อีสุกอีใส มดลูกเป็นแผลทำให้มดลูกหดตัวแห้ง แก้ซางขโมยเด็กน้อย สมานแผล แก้ปวด แก้ไอ แก้พิษ แก้งูสวัด และบำรุงร่างกาย ซึ่งหมอพื้นบ้านต่างลงความเห็นว่าได้ผลดี และเป็นยากลางบ้านที่ชาวอีสานใช้กันบ่อย เช่น 

           ตำรับยาใช้น้ำซาวข้าวรักษาพิษงูสวัด งูสวัดเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการคัน ๆ เจ็บ ๆ หรือปวดแสบร้อนบริเวณผิวหนัง จากนั้นเกิดอาการบวม แดง ร้อน และเริ่มพองเป็นตุ่ม น้ำใส เรียงตัวเกาะกันเป็นกลุ่ม ๆ ตุ่มน้ำใสเหล่านี้ก็จะพองโตและแตกออกกลายเป็นสะเก็ด เป็นที่ทรมานไม่น้อย ตำรับยาที่ใช้รักษา ใช้ใบเสลดพังพอนโขลกจนละเอียด ผสมกับน้ำซาวข้าว จะได้ยาลักษณะเหนียวข้น ใช้สำลีชุบน้ำยาทาบริเวณที่เป็นงูสวัดบ่อย ๆ เมื่อยาแห้งก็ทาใหม่ ประมาณ 1 อาทิตย์ก็เห็นผล ยานี้มีสรรพคุณดูดพิษงูสวัด 

           ตำรับน้ำซาวข้าวผสมขิง รักษาอาการผด ผื่น คัน โดยนำขิงมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าวคนให้เข้ากัน ใช้ทาผิวหนังที่มีอาการผดผื่นคัน ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ 

           ข้าวจี่ ดูดพิษดูดฝี ข้าวจี่คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลม ๆ แบน ๆ ขนาดพอเหมาะมือ นำไปปิ้งไฟ (จี่ไฟ) จนไหม้เกรียม แล้วนำข้าวนั้นมาตำกับใบลำโพง 7 ใบให้ละเอียด เวลาใช้ให้เอาน้ำซาวข้าวเป็นกระสายยา แล้วนำไปพอกบริเวณที่เป็น 

ตำรับข้าวรักษาโรค

          การใช้ข้าวเป็นยารักษาโรค มีทั้งการใช้ในรูปแบบอาหารรับประทานโดยตรง เช่น ข้าวต้ม หรือน้ำข้าวต้ม ใช้ในรูปแบบยาเข้าตำรับ หรือเป็นน้ำกระสายยา ข้อมูลจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยอุษา กลิ่นหอม และคณะ (2546) และเอกสารตำรายาอีสานโบราณของ ดร.ปรีชา พิณทอง (2536) พบว่าหมอพื้นบ้านชาวอีสานมีการใช้ข้าวเป็นยารักษาโรคต่าง ๆ ถึง 38 กลุ่มอาการ และมีตำรับยาจำนวน 330 ตำรับ โดยใช้ในการรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับไข้มากที่สุดจำนวน 122 ตำรับ เป็นการรักษาไข้หมากไม้ 81 ตำรับ และไข้ธรรมดาจำนวน 40 ตำรับ นอกจากนี้ยังมีตำรับรักษาสัตว์เลี้ยงอีก 2 ตำรับ อาทิ 

           แก้เบื่อเมา ใช้รากมะนาวฝนใส่น้ำซาวข้าว บำรุงเส้นผม ใช้น้ำซาวข้าว ใบหมี่ รากมะขามส้ม ต้มรวมกันแล้วนำไปสระผม 
          
           แก้เบาหวาน ใช้แก่นสะเดา 1 ส่วน ฟางข้าวเจ้า 1 ส่วน ต้มกิน 3 วันหลังอาหาร 
          
           ยาแก้หืด ใช้รากลำเจียก 1 ส่วน ทองพันชั่ง 1 ส่วน แกลบข้าวเหนียว 1 ส่วน ดินประสิว 1 ส่วน ต้มน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวเหลือ 1 ส่วนกิน 

           กินของผิดสำแดง ใช้รากย่านาง รากหมาน้อย เฟืองข้าวเจ้า รากฝาง อ้อยดำ ฝนกิน 

           โรคฝี ใช้รากต้างไก่ หัวหนวดแมว น้ำข้าวจ้าวเป็นน้ำฝนทา ปวดหัว ใช้รากตดหมา เข็มขาว ฝนใส่น้ำข้าวเจ้าทา 

           แก้ไอ ใช้ข้าวเจ้าป่นละเอียด 1 ส่วน พริกไทย 1 ส่วน น้ำผึ้ง 1 ส่วน เอาทั้ง 3 ผสมให้เข้ากันกินแก้ไอ 

          นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้ข้าวเป็นยารักษาโรคจากภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านภาคอีสาน ที่ตระหนักว่าการเป็นหมอพื้นบ้านนั้นเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตในชุมชนที่แสดงออกถึงการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันในชุมชน เป็นทางเลือกในการพึ่งพาตนเองในการดูแลสุขภาพ ที่มีการสืบทอดความรู้ภูมิปัญญามาช้านาน และถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง อันเป็นกลไกสำคัญของการดำรงชีวิตที่ยังคงมิตรภาพ น้ำใจและไมตรี ที่หาได้ยากยิ่งนักในสังคมโลกปัจจุบัน 




ที่มา: http://www.otoptoday.com

หมอพื้นบ้าน รักษาโรคกระดูก

หมวด : อื่นๆ บริการชุมชน

ผลิตภัณฑ์

ประวัติความเป็นมา

นายเคลิ้ม เกิดกูล หรือ หมอเคลิ้ม เมื่ออายุ ๒๐ ปี ได้อุปสมบท ณ. วัดห้วยแก้ว ได้รับการ 

ถ่ายทอดความรู้วิชาต่อกระดูกจาก เจ้าอาวาสวัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่ออุปสมบทได้ 

๔ พรรษา หมอเคลิ้มได้ลาสิกขาบท สมรสกับนางตะลุ้ม เกิดกูล และเริ่มเป็นหมอรักษาผู้ป่วยกระดูก ตั้งแต่นั้น 

เป็นต้นมา ประสบความส าเร็จพอสมควร เนื่องจากผู้ที่มารักษาได้หายจากอาการเจ็บป่วย และได้บอกเล่าต่อ 

กันปากต่อปาก ท าให้หมอเคลิ้มมีชื่อเสียงในด้านการรักษากระดูก ในเขตต าบลมหาสอน อ าเภอบ้านหมี่ และ 

อ าเภอใกล้เคียง 



หมอเคลิ้มถ่ายทอดความรู้วิชาต่อกระดูกให้แก่บุตรเขย นายวิเชียร ล้นเหลือ หลังจากสมรสกับ 

นางตะล่อม ล้นเหลือ ได้หนึ่งปี นายวิเชียร ล้นเหลือ ได้เข้าพิธียกครู รับเป็นศิษย์ ประสาทวิชากับหมอเคลิ้ม 

ผู้เรียนวิชาต่อกระดูกนั้น ต้องเป็นผู้ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี รักษาผู้ป่วยโดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทน 

หากปฏิบัติไม่ดีหรือน าวิชาต่อกระดูกไปใช้ในทางที่ไม่ถูกไม่ควร ผู้เรียนจะไม่ประสบผลส าเร็จในการรักษา 

ตนเองหรือคนในครอบครัวจะได้รับอันตราย ดังนั้นหากได้รับการถ่ายทอดวิชาแล้ว ต้องตั้งใจรักษาและด ารงตน 

ตนอยู่ในศีลธรรมอันดี 

นายวิเชียร ล้นเหลือ เกิดที่จังหวัดอ่างทอง เมื่อสมรสกับนางตะล่อม ล้นเหลือ ได้ย้ายมาอาศัยอยู่ 

ที่บ้านหมอเคลิ้ม บ้านปากดง หมู่ที่ ๒ ต.มหาสอน อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี เรียนรู้การรักษากระดูกจากหมอเคลิ้ม 

จากการสอน การสังเกตวิธีการวินิจฉัยอาการและวิธีการรักษา การฝึกปฏิบัติด้วยความตั้งใจ เป็นเวลา ๑๕ ปี 

ก่อนหมอเคลิ้มจะเสียชีวิต หมอวิเชียร ได้เริ่มรักษาคนป่วยกระดูกหัก ตั้งแต่อายุประมาณ ๒๕ ปี จนถึงปัจจุบัน 

อายุ ๖๐ ปี เป็นเวลานานถึง ๓๕ ปี ปัจจุบันนี้ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการกระดูกหัก หากมีผู้ป่วยมาหา หมอ 

วิเชียรจะบอกให้รีบไปโรงพยาบาลก่อนแล้วจึงให้กลับมารักษาต่อ

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

2. พิธีส่งขวัญข้าว คือพิธีที่ผู้หายจากอาการเจ็บป่วยแล้วน ากล้วยน้ าว้าสุกสีเหลืองทองมามอบ ให้แก่หมอ เพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณครู หมอผู้รับจะน ากล้วยน้ าว้านี้ไปตักบาตร 
3. พิธียกครู รับเป็นศิษย์ ประสาทวิชา ผู้เรียนต้องเป็นผู้ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี รักษา ผู้ป่วยโดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทน หากปฏิบัติไม่ดีหรือน าวิชาต่อกระดูกไปใช้ในทางที่ไม่ถูกไม่ควร ผู้เรียน จะไม่ประสบผลส าเร็จในการรักษา ตนเองหรือคนในครอบครัวจะได้รับอันตราย ดังนั้นหากได้รับการ ถ่ายทอดวิชาแล้ว ต้องรักษาผู้ป่วยความตั้งใจประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี 
4. การท าพิธีไหว้ครู หมอพื้นบ้านยึดถือปฏิบัติเป็นประจ าทุกปี ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว อาหาร ๙ อย่าง ผลไม้ ๙ อย่าง

มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ

ประกาศเกียรติคุณ “ชมรมพลังสังคม อ าเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี” เป็นบุคลดีเด่นด้าน สาขา บริการสังคม

ความสัมพันธ์กับชุมชน

หมอกระดูกพื้นบ้านเป็นสมาชิกของชุมชน มีความส าพันธ์กับชุมชนในความสามารถทางด้านการใช้เทคนิควิทยาของภูมิปัญญาพื้นบ้านรักษาโรค หมอกระดูกพื้นบ้านเป็นผู้ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี เป็น ตัวอย่างที่ดีของเยาวชน รักษาผู้ป่วยโดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทน นอกจากการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน การรักษาโรค โดยพิธีกรรม และมีความเชื่อทางศาสนามา ความศรัทธา มุ่งเน้นการรักษาคนทั้งร่างกายและ จิตใจ ตลอดจนรวมไปถึงครอบครัวหรือเครือญาติและสังคมทั้งระบบ มากกว่าจะมุ่งเน้นการรักษาเฉพาะโรค หรือเฉพาะอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษา 
1. มีหมอ ๑ เล่ม ลงอักขระคาถา จากพระ 
2. ไม้สักลงอาคมก่อนใช้งานทุกครั้ง ความยาวประมาณ ๑ ศอก หรือ ๕๐ เซนติเมตร 
3. ไม้กระดาน ๑ แผ่น 
4. น้ ามันมนต์ 
5. เฝือกไม้ไผ่ 
6. อุปกรณ์ถ่วงกระดูก เช่น บรรจุหิน ,ทราย หรือน้ า มีดหมอและไม้สัก

ขั้นตอนการผลิต

1. ผู้ป่วยที่มารักษาต้องท าพิธียกครู จัดพาน ดอกไม้ ๕ ดอก ธูป ๕ ดอก เทียน ๕ เล่ม และ เงิน ๑ สลึง มอบให้หมอผู้รักษา 
2. เริ่มการรักษาโดยให้ผู้ป่วยนั่งบนแผ่นไม้กระดานแผ่นเดียวกับหมอ หมอวินิจฉัยอาการผู้ป่วย
3. หมอใช้มีดหมอสับลงไม้ พร้อมกับสวดคาถา และหมอเป่าคาถารักษาผู้ป่วย โดยคาถาที่สวด ขณะเป่านั้นจะไม่เหมือนกัน ตามอาการของผู้ป่วย 
4. ในรายละเอียดย่อยนั้นผู้ป่วยแต่ละรายจะมีวิธีการรักษาที่ต่างกัน เช่น ดามด้วยเผือกไม้ไผ่ อุปกรณ์ถ่วงกระดูก เช่น บรรจุหิน ,ทราย หรือน้ าหลังจากการรักษาแล้วหมอจะให้น้ ามันมนต์ กลับไปทาที่บ้าน

ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

นายวิเชียร ล้นเหลือ
ที่อยู่ 18 2 - ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 15110
 081-7031883

ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

นายวิเชียร ล้นเหลือ
ที่อยู่ 18 2 - ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 15110
 081-7031883

แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์

เลขที่ 18 บ้านปากดง หมู่ที่ 2 ต าบลมหาสอน อ าเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 15110

ที่มา:http://www.otoptoday.com/

หน่วยที่ 8 ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทย


8.1         แนวคิดเกี่ยวกับภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทย
8.1.1              ความหมาย ขอบเขตและความสำคัญของภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทย
–          ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทย หมายถึง พื้นความรู้ทั้งหมดที่เกี่ยวกับการแพทย์เฉพาะถิ่นของไทย
–          ขอบเขตของภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทย
ประเด็นที่แตกต่าง
การแพทย์พื้นบ้าน
การแพทย์แผนไทย
ที่มาของสมุนไพรที่ใช้มักใช้สมุนไพรได้ง่ายในท้องถิ่น หรือพื้นที่ใกล้เคียงด้วยมีการใช้สมุนไพรจากต่างประเทศร่วม
เทคนิคที่ใช้รักษามักใช้เทคนิคง่าย ๆ เช่น ต้ม ฝน ดอง ปั้นลูกกลอนมีวิธีซับซ้อน เช่น ทำเป็นยานัตถุ์ หุงน้ำมัน เผารมควัน
วิธีถ่ายทอดความรู้สอนตัวต่อตัว ฝึกจากประสบการณ์จริงมีเนื้อหาชัดเจน จัดเป็นระบบเรียนในห้อง
คำอธิบายสาเหตุของการป่วยสัมพันธ์อยู่กับความเชื่อพื้นฐานของชุมชนมีทฤษฎีชัดเจน เช่น ความสมดุลของธาตุ 4 สมุฏฐานวินิจฉัย
การใช้พิธีกรรมใช้พิธีกรรม คาถาอาคมประกอบมากใช้พิธีกรรมและคาถาอาคมน้อยกว่า
กลุ่มคนที่ใช้กลุ่มคนเล็ก ๆ เฉพาะท้องถิ่นใช้กับคนในวงกว้าง
การรวมกลุ่มของหมอไม่ค่อยมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายมีการจัดตั้งกลุ่มหรือสมาคม
–          ความสำคัญของภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทย มี 3 ประการ คือ
  • ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านเป็นผลผลิตของวัฒนธรรมไทยจึงสอดคล้องกับวิถีของคนไทย
  • ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยที่คนไทยส่วนใหญ่ยังต้องการ
  • ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านเป็นทรัพยากรที่สำคัญของวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่สามารถพัฒนาให้เกิดประโยขน์ต่อคนไทยได้

8.1.2              ความเชื่อพื้นฐานของภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทย
–          ความเชื่อในสิ่งที่เหนือธรรมชาติที่เป็นสาเหตุของการป่วย ได้แก่
  • ความเชื่อเรื่องผีซึ่งมีทั้งผีดีและผีร้ายที่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย
  • ความเชื่อเรื่องขวัญ หากขวัญออกจากตัวจะทำให้ผู้นั้นเจ็บป่วยหรือถึงแก่ชีวิต
  • ความเชื่อเรื่องฤกษ์และโชคชะตาที่ทำให้คนนั้นมีเคราะห์หรือเจ็บป่วยได้
  • ความเชื่อเรื่องกรรมในพุทธศาสนาที่ทำให้คนเจ็บป่วยหรือถึงแก่ชีวิตในลักษณะต่าง ๆ กัน
–          ความเชื่อตามหลักพุทธศาสนา พุทธศาสนาเป็นกรอบความเชื่อพื้นฐานที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับชีวิตและความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับโลกนี้ โลกอื่น และจักรวาล ซึ่งเป็นองค์ความรู้ในการทำความเข้าใจกับร่างกาย การดูแลสุขภาพและการรักษาโรค นอกจากนี้ พุทธศาสนายังเป็นแหล่งสะสมและถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์ เป็นสถานที่ให้การรักษาโรคมาตั้งแต่อดีต

8.2         ความหลากหลายของภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทย
8.2.1              ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านภาคเหนือ
–          ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตและสุขภาพของชาวล้านนา ชาวล้านนาเชื่อว่าชีวิตคนประกอบขึ้นด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 2 อย่าง คือ รูปกับนาม หรือส่วนของธาตุ กับส่วนของขวัญ ซึ่งสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เมื่อใดที่แต่ละส่วนบกพร่องหรือความสัมพันธ์ระหว่างกายกับใจไม่สมดุลก็ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยขึ้นได้
–          หลักการดูแลผู้ป่วยของภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านล้านนา คือ การเสริมส่วนที่ขาด ขจัดส่วนที่เกิน ล้างสิ่งที่เป็นพิษ แก้ไขสิ่งที่เป็นต้นเหตุของการป่วย และบำรุงร่างกายให้แข็งแรงโดยใช้อาหารหรืองดอาหารบางชนิดที่เป็นของแสลงต่อโรค ใช้ยาสมุนไพรซึ่งเป็นยาตำรับ อาจใช้ร่วมกับการนวด การปรับพฤติกรรม หรือทำพิธีกรรมร่วมด้วย โดยเฉพาะเมื่อสาเหตุของการเจ็บป่วยเกิดร่วมกับการเสียสมดุลของขวัญก็จะทำพิธี ฮ้องขวัญ หรือเรียกขวัญให้กลับคืนมาสู่ร่างกายหรืออวัยวะที่ขวัญนั้นอยู่
–          วิธีการวินิจฉัยของหมอพื้นบ้านล้านนาไม่ได้แยกขั้นตอนของการวินิจฉัยกับการรักษาออกจากกันชัดเจน วิธีการวินิจฉัยไม่มีหลักที่ตายตัวหรือใช้ร่วมกัน ในส่วนของขั้นตอนการรักษาของหมอพื้นบ้านล้านนานั้น สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ดังนี้
  • กลุ่มที่ป้องกันหรือรักษาด้วยพิธีกรรม เช่น การดูฤกษ์ยาม การขจัดปัดเป่าสิ่งเลวร้ายจากการดู
  • กลุ่มที่ป้องกันหรือรักษาทางกาย เช่น การนวดบีบเส้น การแหก การย่ำขาง
  • กลุ่มที่ป้องกันหรือรักษาด้วยยาสมุนไพร
  • กลุ่มที่ป้องกันหรือรักษาด้วยอาหารและการกิน เช่น การงดอาหารแสลง หรือกินอาหารให้สอดคล้องกับธาตุของผู้ป่วย

8.2.2              ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านภาคอีสาน
–          ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับการเจ็บป่วย คือ ความเชื่อเรื่องกรรมตามหลักพุทธศาสนา ความเชื่อเรื่องผี และความเชื่อเรื่องเคราะห์กรรม
–          วิธีการรักษาและหมอพื้นบ้านภาคอีสาน แบ่งได้ 6 ประเภท ได้แก่
  • หมอยาสมุนไพร รักษาโรคโดยใช้สมุนไพร โดยอาจมีคาถาอาคมประกอบด้วย
  • หมอมนต์หรือหมอเป่า รักษาโรคด้วยการเป่ามนต์หรือใช้คาถาอาคมเป็นหลัก
  • หมอธรรม ใช้พิธีกรรม เช่น ผูกฝ้าย (สายสิญจน์) รดน้ำมนต์ เป็นต้น ร่วมกับคาถาอาคมขับไล่ผีที่เป็นสาเหตุการป่วย
  • หมอสู่ขวัญ ทำพิธีเรียกขวัญให้กลับคืนสู่ร่างกายเพื่อให้หายป่วย
  • หมอมอหรือหมอดู ใช้ดูฤกษ์ยามเคราะห์กรรมเพื่อระบุสาเหตุของการเจ็บป่วย
  • เฒ่าจ้ำ มีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมเพื่อบวงสรวงสังเวยผี และเทวดาประจำหมู่บ้าน

8.2.3              ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านภาคกลาง
–          ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตและสุขภาพของคนภาคกลาง เนื่องจากอยู่ใกล้กับศูนย์กลางพัฒนาทำให้แนวคิดเกี่ยวกับผีและอำนาจเหนือธรรมชาติมีความสำคัญลดลง ในขณะที่มีความรู้และตัวยาจากวัฒนธรรมอื่นมาใช้รักษาโรค
–          วิธีการรักษาและหมอพื้นบ้านภาคกลาง หมอพื้นบ้านที่พบเหมือนกับภาคอื่น แต่คาถาอาคมและพิธีกรรมอาจจะแตกต่างกันไปไม่ซับซ้อน

8.2.4              ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านภาคใต้
–          ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตและสุขภาพของคนภาคใต้ในเรื่องเหนือธรรมชาติมีน้อยกว่าพื้นที่อื่น เนื่องจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้แก่ วัฒนธรรม การนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งทำให้คนในภาคใต้ไม่ต้องมีความรู้สึกพึ่งพิงอยู่กับอำนาจเหนือธรรมชาติมากนัก
–          วิธีการรักษาและหมอพื้นบ้านภาคใต้ ประเภทของหมอที่รักษาส่วนใหญ่จะเป็นหมอสมุนไพรที่เชี่ยวชาญการใช้สมุนไพรในท้องถิ่น หมอตำแยที่เรียกว่า โตะบิแต และหมองู

8.3               สถานการณ์และการพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทย
8.3.1                      สถานการณ์ปัจจุบันภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทย
–          ปัจจุบันกระแสความนิยมในภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านมีสูงขึ้น วิธีการดูแลสุขภาพพื้นเมืองหลายวิธีได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เช่น การนวดไทย การอบไอน้ำสมุนไพร สปา อาหารสมุนไพร รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่ทำในรูปแบบที่สะดวกในการใช้และพกพาในบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม เป็นต้น
–          นโยบายของประเทศไทยในการพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านที่ผ่านจะช่วยให้การแพทย์พื้นบ้านเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพ แต่การพัฒนาก็เป็นไปอย่างช้า ๆ และเมื่อเปรียบเทียบกับการสนับสนุนการขยายตัวของระบบบริการสุขภาพแผนปัจจุบันแล้ว พบว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นสัดส่วนที่น้อยมาก นอกจากนี้การพัฒนาที่ผ่านมาส่วนใหญ่ก็ดำเนินไปตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การศึกษาและพัฒนาส่วนใหญ่แยกขาดจากการใช้จริงของชาวบ้านที่ผูกพันอยู่กับความเชื่อในท้องถิ่น ผลจากการศึกษาจึงไม่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและใช้จริงในชุมชนมากนัก
–          สาเหตุหลักที่ทำให้คนยุคนี้ไม่สนใจสืบทอดความรู้การแพทย์พื้นบ้านเนื่องจากองค์ความรู้เหล่านี้มีโอกาสนำไปใช้น้อยลง ความรู้เหล่านี้ยังไม่ได้รับการรับรองตามกฎหมายไม่สามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพได้ นอกจากนี้ วิธีการสืบทอดความรู้ต้องอาศัยความอดทนและใช้เวลานานกว่าจะมีความชำนาญจนได้รับการยอมรับ

8.3.2              การพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทย
–          การพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยควรต้องมีผู้มีส่วนร่วม ดังนี้
  • นักวิชาการที่หลากหลายสาขาเข้ามาทำวิจัยร่วมกันอย่างบูรณาการเพื่อหาข้อมูลส่วนที่ยังขาดและมุ่งเป้าหมายเพื่อการพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านเป็นหลัก
  • มีคนในภาครัฐให้การสนับสนุนในเชิงนโยบาย ปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสม และกำหนดให้มีหน่วยงานเข้ามารับผิดชอบประสานงานให้พัฒนาไปได้อย่างเป็นรูปธรรม
  • มีการประสานงานกับภาคธุรกิจเพื่อพัฒนาอย่างเป็นระบบพร้อมทั้งมีมาตรการป้องกัน มิให้นำไปเป็นเครื่องมือในการหลอกลวงหรือแสวงหาผลประโยชน์
  • ให้คนในชุมชนนั้น ๆ เข้ามาเป็นตัวหลักในการเรียนรู้และพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านของตนร่วมกับนักวิชาการและภาคีอื่น ๆ

 ที่มา:https://be7herb.wordpress.com

การแพทย์พื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การแพทย์พื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (บุญเลิศ สดสุชาติ, 2553 : 92-93) ลักษณะการเจ็บป่วยของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือในอดีตส่วนใหญ่มักป่วยด้วยโรคต่างๆ ได้แก่ ไข้มาลาเรียหรือไข้ป่า โรคทางเดินอาหาร เช่นอุจจาระร่วง บิด ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค โรคพยาธิต่างๆ โรคนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ โรคติดต่อ เช่นไข้ทรพิษ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ไข้สันหลังอักเสบ หัด อีสุกอีใส โรคซางหรือโรคขาดสารอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด วัณโรคปอด เป็นต้น
การเจ็บป่วยดังกล่าว โดยทั่วไปจะทำการรักษาด้วยแพทย์พื้นบ้าน เช่น ปวดจะกินยาหรือฝนยาสมุนไพร ถูกสุนัขกัดใช้ยางต้นจำปา เมื่อถูกของมีคมบาดหรือของแหลมตำนิยมรดด้วยปัสสาวะ แล้วให้ใบสาบเสือเคี้ยวพอกแผลหรือยัดด้วยเกลือ ปวดฟันจะอมเกลือหรือต้มน้ำกิน นอกจากนั้นจะรักษาโดยการลำผีฟ้าหรือใช้เวทย์มนต์คาถาและรดน้ำมนต์ ไหว้ขอขมาที่ไปลบหลู่ นอกจากนั้นจะมีต่อชะตา สะเดาะเคราะห์ ขับไล่เคราะห์ เสนียดจัญไร มีการรดน้ำมนต์ ต่อชะตา ค้ำโพธิ์ค้ำไทร ต่อสะพาน ซึ่งเป็นการการะทำที่ให้ผลทางด้านจิตใจ
การใช้สมุนไพรเป็นยา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพืชหลายชนิดที่มีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรคได้ พืชพรรณที่เป็นสมุนไพรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ผักบุ้ง นำมาประกอบอาหาร กระเจี๊ยบ มะตูม ใบเตย ฝรั่ง พวกนี้นำมาทำเครื่องดื่มบำรุงกำลังภูมิปัญญา ในการดูแลสุขภาพของชาวบ้าน เป็นการดูแลรักษากันเองในครอบครัว ใช้สมุนไพรเป็นอาหารหรือยารักษาโรคไปในตัว เมื่อเจ็บป่วยก็มีหมอพื้นบ้านรักษา ในการใช้สมุนไพรนั้น หมอพื้นบ้านจะมีหลักเกณฑ์ต่างๆ ได้แก่
  • ใช้ให้ถูกต้อง หมายถึง ต้องรู้จักชนิดของสมุนไพร
  • ใช้ให้ถูกส่วน หมายถึง ส่วนใดของพืชที่ใช้เป็นตัวยา
  • ใช้ให้ถูกขนาด หมายถึง ใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ
  • ใช้ให้ถูกโรค หมายถึง รู้วิธีใช้ที่ถูกต้อง
ประเภทของหมอพื้นบ้านอีสานและวิธีการรักษา (บุญเลิศ สดสุชาติ, 2553 : 95-96) ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประชากรจำนวน 1 ใน 3 ของประเทศ ประกอบด้วยกลุ่มชนต่างวัฒนธรรม 3 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่มชนที่มีลักษณะทางภาษาและวัฒนธรรมลาวอาศัยอยู่ทางตอนบนของภาคนับจากชัยภูมิขึ้นไป กลุ่มที่สอง อาศัยอยู่ทางตอนกลางของภาค คือกลุ่มไทยโคราช ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ กลุ่มที่สาม คือกลุ่มเขมรส่วยอยู่ทางตอนใต้ของภาคแถบจังหวัด บุรีรัมย์ สุรินทร์และศรีสะเกษ ด้วยเหตุผลข้างต้น หมอพื้นบ้านอีสานจึงมีความหลากหลายตามวัฒนธรรมทั้ง 3 กลุ่ม
หมอพื้นบ้านอีสาน เป็นผู้มีความรู้และวิธีการรักษาที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิต สภาพแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมของชุมชน การวินิจฉัยโรคตามสมุฏฐานของธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ การรักษาโรคด้วยวิธีทางไสยศาสตร์ เช่น การลำผีฟ้า การสะเคราะห์ หมอมนต์ ฯลฯ ผสมผสานกับการใช้ยาสมุนไพรเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น ในการรักษาและเป็นกำลังใจแก่ผู้ป่วย ความสัมพันธ์กับคนไข้บนพื้นฐานการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน หมอพื้นบ้านอีสานมีหลายประเภท แยกตามวิธีการรักษาต่างๆ กันดังนี้

1. หมอไสยศาสตร์

รักษาโรคโดยวิธีการทางไสยศาสตร์ แบ่งเป็นประเภทย่อย ดังนี้

หมอมอ

เป็นหมอดูฤกษ์ยาม ทายโชคชะตาราศีตามหลักโหราศาสตร์ ดูสาเหตุของโรคภัยไข้เจ็บว่าอาจเกิดจากการกระทำของผีต่างๆ ชาวบ้านมีเรื่องไม่สบายใจ มาปรึกษาหมอมอให้ช่วยทำนายและชี้แจงว่าควรทำอะไรจึงจะหายจากอาการ ถ้ามีเคราะห์หมอก็แนะให้ทำการสะเดาะห์เคราะห์ นอกจากดูเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ หมอมอยังสามารถดูถึงสิ่งของที่สูญหายได้ด้วย

หมอลำผีฟ้า

ลำผีฟ้าเป็นการลำในพิธีกรรมรักษาโรค โดยวิธีขับร้องประกอบเสียงดนตรี (แคน ฉิ่ง ฉาบ) หมอลำส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง การรักษาแบบนี้มักเป็นวิธีสุดท้าย หลักจากที่รักษาโรคด้วยวิธีต่างๆ ได้ผลแล้ว พิธีกรรมลำผีฟ้าจัดขึ้นหลังจากที่หมอลำส่อง หรือหมอทรง แจ้งสาเหตุแห่งการเจ็บไข้ให้เจ้าของไข้ทราบแล้ว หรือไม่ก็ลัดขั้นตอนจัดพิธีกรรมลำผีฟ้าเลย โดยไม่ต้องลำส่องก็ได้ ลำผีฟ้ามีชื่อเรียกอื่นๆ อีกคือ ลำผีไท้ ลำไท้เทิง ลำผีแถน

หมอธรรม

เป็นผู้ที่เรียนรู้วิชาอาคมและปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม เป็นบุคคลที่ชาวบ้านเคารพนับถือ สามารถขจัดปัดเป่าผีร้ายเมื่อเกิดการเจ็บป่วยอันมีสาเหตุมาจากการถูกผีร้ายกระทำ เช่นผีปอบ ผีโพง ชาวบ้านมักจะมาให้หมอธรรมผูกฝ้าย รดน้ำมนต์ พร้อมๆ กับการรักษาด้วยสมุนไพร

จ้ำ หรือ ขะจ้ำ

หรือเฒ่าจ้ำ เป็นผู้ประกอบพีธีกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการบวงสรวง สังเวยผี และเทวดาประจำหมู่บ้านหรือผีปู่ตาเป็นผู้ช่วยสื่อสารระหว่างคนกับผี เป็นผู้ช่วยแก้ไขไถ่โทษแก่ชาวบ้านกรณีทำผิดผีบ้านหรือผีบรรพบุรุษ

หมอผี

เป็นผู้นำการรักษาผู้ป่วยที่สงสัยว่าเกิดจากการกระทำของผีร้ายต่างๆ โดยใช้คาถาอาคมและเวทย์มนต์ต่างๆ ขับไล่ผีออกจากร่างผู้ป่วย

หมอสะเดาะห์เคราะห์

เป็นผู้ทำพิธีกรรมเพื่อแก้ไขเหตุการณ์ไม่ดีต่างๆ ที่ชาวบ้านถือกันว่านำโรคภัยมาสู่ตนและครอบครัว เช่น ฝันไม่ดี ถูกของเสกต่างๆ มีสัตว์น่ารังเกียจเข้ามาในบ้าน เช่น เหี้ย แร้ง เป็นต้น การสะเดาะห์เคราะห์ส่วนใหญ่มักทำกระทงกาบกล้วยรูปสี่เหลี่ยมใส่ดอกไม้ ธูป เทียน อาหาร มหาก พลู ตุ๊กตา (แทนคนที่สะเดาะห์เคราะห์) ด้ายสายสิญจน์ประดับธงริ้วต่างๆ หมอสะเดาะห์เคราะห์ทำพิธีสวดเวทมนต์คาถาแล้วนำกระทงนั้นไปทิ้งนอกหมู่บ้าน แล้วทำพิธีผูกข้อมือรับขวัญให้กับผู้ที่ประสงค์จะขับไล่เคราะห์ร้ายให้พ้นตัว

หมอขวัญ

เป็นผู้มีความรู้และความสามารถในการขับกล่อมขวัญ สู่ขวัญ หรือเรียกขวัญ ชาวบ้านเชื่อกันว่าขวัญเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นแต่อยู่ภายในร่างกายของคนยามปกติ เป็นสิ่งทำให้ร่างกายคนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อคนเจ็บป่วยหรือตกใจ ขวัญจะออกจากร่างกาย ชาวบ้านจึงต้องทำพิธีเรียกขวัญ หรือสู่ขวัญ เพื่อให้ขวัญนั้นกลับมาอยู่ในร่างกายตามเดิม และผูกมัดขวัญให้อยู่กับเนื้อกับตัวด้วยสายสิญจน์ บางครั้งก็ทำพิธีสู่ขวัญให้แขกผู้มาเยือน หรือผู้ที่จะออกนอกหมู่บ้าน เดินทางไกลเป็นเวลานานๆ หรือสู่ขวัญให้สัตว์ สิ่งของด้วย เช่น สู่ขวัญวัว ควาย สู่ขวัญข้าว เป็นต้น

หมอมนต์

เป็นผู้รักษาคนเจ็บไข้ที่ไม่ได้เกิดจากผีทำ การรักษาแบบนี้มักใช้กับผู้ป่วยกระทันหัน เช่น ตกต้นไม้ กระดูกหัก ถูกสัตว์ร้ายขบกัด ฟกช้ำต่างๆ โดยใช้สมุนไพร หรือน้ำมันที่เสกเป่าประกอบคาถาอาคม ที่เชื่อว่าจะทำให้การเจ็บป่วยหายเร็วขึ้น

2. หมอยา

คือหมอที่รักษาอาการเจ็บป่วยด้วยยาสมุนไพร แบ่งเป็น 8 ประเภท ดังนี้

หมอยาฮากไม้ (หมอยารากไม้หรือสมุนไพร)

เป็นหมอที่ใช้วิธีการรักษาโรคด้วยสมุนไพร แร่ธาตุ และส่วนต่างๆ ของสัตว์ การกินยาสมุนไพรของชาวอิสานมีวิธีสกัดตัวยาออกมาจากสมุนไพรแบบง่ายๆ คือการฝนยา เป็นการนำสมุนไพรมาฝนหรือถูกับแผ่นหิน แผ่นเท่าฝ่ามือ เมื่อฝนแล้วก็เอาแผ่นหินนั้นจุ่มน้ำ ตัวยาที่ฝนออกจากละลายในน้ำเป็นน้ำยาที่สกัดออกมา สมุนไพรที่นำมาฝนประกอบด้วยรากไม้ แร่ธาตุหลายชนิด บางทีชาวบ้านเรียกว่า “ยาซุม”

หมอเป่า

เป็นหมอที่ใช้วิธีการเป่ารักษาโรค โดยส่วนประกอบที่ใช้และพบบ่อยได้แก่ ปูนกินหมาก หมอเป่าบางรายใช้เคี้ยวกระเทียมหรือหมาก หรือใบไม้บางชนิด แล้วเป่าลงไปที่ร่างกายของผู้ป่วย ส่วนมากใช้กับอาการปวดศรีษะ โรคผิวหนัง งูสวัด ถูกหมากัด

หมอเอ็น หรือหมอนวด

เป็นหมอที่ใช้การรักษาโรคโดยวิธีนวด โดยใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้สำหรับจับเส้นเอ็นที่เคล็ด ขัด ยอก เรียกอีกชื่อว่าหมอจับเส้น

หมอพระ

เป็นพระสงฆ์ทำหน้าที่เป็นหมอรักษาโรคแก่ชาวบ้านโดยการประพรมน้ำมนต์ การอาบน้ำมนต์ การผูกแขนและให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น

หมอยาหม้อ หรือหมสมุนไพร

เป็นหมอที่มีความชำนาญในการรักษาโรคโดยใช้ยาสมุนไพร หรือยาโบราณหลายอย่างผสมกัน ต้มในหม้อดินดื่มน้ำยา

หมอกระดูก

บางแห่งเรียกหมอน้ำมัน เป็นผู้มีความชำนาญในการรักษาอาการกระดูกหัก โดยใช้น้ำมันงาในการรักษาร่วมด้วย

หมอตำแย

เป็นผู้มีความชำนาญในการทำคลอดด้วยวิธีโบราณ หมอตำแยอีสานใช้ไม้ไผ่เหลาบางๆ หรือหอยกีบกี้ (หอยน้ำจืดขนาดเล็ก) มาตัดสายสะดือ หมอตำแยทุกคนไม่เรียกค่าบริการ เพราะเชื่อว่าจำทำให้เป็นผีปอบได้

หมอฉีดยา หรือหมอเถื่อน

เป็นผู้มีความรู้ ชำนาญในการรักษาโรคด้วยวิธีการฉีดยาเข้าเส้นหรือกล้ามเนื้อผู้ป่วย มักเรียกหมอฉีดยาว่าหมอเถื่อน เพราะรักษาอย่างผิดกฎหมาย แต่ก็เป็นที่นิยมของคนส่วนหนึ่ง

ที่มา:www.sisaket-wisdoms.ne

อ้างอิงข้อมูล

  • บุญเลิศ สดสุชาติ. (2553). มานุษยวิทยาสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. โอเอส พริ้นติ้ง เฮาส์ : กรุงเทพฯ.